บทที่ 3 การพัฒนาบุคลิกภายใน

แนวคิดสำคัญ (Main Idea)
การมีบุคลิกภาพที่ดี มิใช่เป็นเพียงคนที่แต่งตัวดี กิริยาวาจาดี วางตัวเหมาะกับกาลเทศะและบุคคลเท่านั้น หากมองกันลงไปลึก ๆ แล้ว บุคลิกภาพที่ดีของบุคคลเริ่มต้นขึ้นจากภายในทั้งสิ้น ภายใน ก็คือในใจ ในความคิด ที่มีต่อตนเอง และสังคม
การพัฒนาบุคลิกภาพจากภายในจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาบุคลิกภาพทางด้านอื่นๆ  กล่าวคือ เราจะต้องควบคุมจิตใจไม่ให้เกิดอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา หรืออารมณ์ใด ๆ ก็ตามที่จะส่งผลมายังกายและวาจาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องฝึกฝนหรือใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เมื่อเราสามารรถควบคุมจิตใจได้แล้ว การแสดงออกทางกาย และวาจาก็จะดีตามไปด้วย ทำให้สามารถสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่เราติดต่อด้วยเป็นอย่างดี
หัวข้อเรื่อง (Topics)
1. ความหมายของบุคลิกภาพภายใน
2. ความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
              3. ทฤษฎีการพัฒนาจิตลักษณะและบุคลิกภาพของบุคคล
4. องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
              5. ธรรมะกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน 
สมรรถนะย่อย (Element of Competency)
            1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
            2. ปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
            1. อธิบายความหมายของคำว่าบุคลิกภาพภายในได้
            2. อธิบายความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้
            3. อธิบายทฤษฎีการพัฒนาจิตลักษณะและบุคลิกภาพของบุคคลได้
            4. อธิบายองค์ประกอบของการพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้
            5. อธิบายธรรมะกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้




      

เนื้อหา
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน สามารถเริ่มต้นจากการมีทัศนคติที่ดี คือ บุคลิกภาพง่าย ๆ มอง   ทุกสิ่งในด้านที่ดี ก็จะทำให้มีความสุข แล้วความสุขก็จะเปล่งประกายออกมาสู่ภายนอก สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง คือ มั่นใจในตนเอง หมายถึงการมีศรัทธาในตนเอง เชื่อมั่นความสามารถ ตลอดจนความรู้ของตนเอง ทำให้ไม่มีความประหม่า พยายามวิเคราะห์ประเมินตนเองอย่างแท้จริง คือ พิจารณาว่าตนมีความสามารถใด และขาดความสามารถทางใด แล้วใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทำใจให้พร้อมในการเผชิญความจริง โดยคิดว่าในโลกนี้มีขึ้น มีลง มีทั้งสิ่งดีและไม่ดี มีทั้งคนดีมากและคนดีน้อย เราก็เหมือนคนอื่น ๆ ฝึกตนให้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด คือ มีอารมณ์มั่นคง ไม่ปล่อยตนเป็นทาสของอารมณ์ แต่ก็ต้องทำใจว่าชีวิต    ใคร ๆ ก็เป็นอย่างนี้ ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหนฝึกตนให้ทำงานโดยมีการวางแผนและเป้าหมาย คือ ไม่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามลม เมื่อจะทำงานก็ควรจะถามตัวเองว่า ทำเพื่อใคร ทำอะไร ทำเมื่อใด และทำอย่างไร มีการเตรียมการล่วงหน้า และทำให้ชีวิตในแต่ละวันมีความหมายสำหรับตน รู้จักบังคับใจตนเอง คือ   ทำตนให้มีความสามารถในการ รอฝึกมองทุกปัญหาให้เป็นเรื่องเล็ก ดังนั้นแล้ว บุคลิกภาพที่ดีก็จะเกิดขึ้น ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานและการดำเนินชีวิต
ความหมายของบุคลิกภาพภายใน
บุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในใจ หรืออุปนิสัย ที่มองไม่เห็น สัมผัสได้ยาก เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการสังเกตอย่างใกล้ชิด ใช้เวลานาน และเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่น ความคิด จิตใจ ความรู้สึก สติปัญญา ความถนัด ปฏิภาณไหวพริบ อารมณ์ขัน เป็นต้น บางคนอาจแสดงว่าเป็นคนที่มีจิตใจดี แต่แท้ที่จริงแล้วอาจเป็นคนใจร้าย ใจดำก็ได้ ดังกล่าวที่ว่า จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง
            การจะทราบถึงบุคลิกภาพภายในของบุคคลที่เราได้รู้จักนั้นจะต้องใช้เวลาในการคบหากันพอสมควร จึงจะสามารถหยั่งรู้ได้ บุคลิกภาพภายในเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ไม่อาจกำหนดเวลาได้ว่าต้องใช้เวลาเท่าใดจึงจะสามารถทราบถึงบุคลิกภาพภายในของบุคคลที่เราคบด้วยจนหมด ดังมีโคลงบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
                                                มหาสมุทรสุดลึกล้น                     คณนา
                                    สายดิ่งทิ้งทอดมา                                     หยั่งได้
                                    เขาสูงอาจวัดวา                                       กำหนด

                                    จิตมนุษย์นี้ไซร้                                       ยากแท้ หยั่งถึง
หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นมหาสมุทรที่มีความลึกแค่ไหน หรือภูเขาที่มีความสูงเท่าใด เราก็สามารถที่จะวัดจนทราบถึงความลึกหรือความสูงนั้นได้ ผิดกับการหยั่งรู้ถึงจิตใจของมนุษย์ที่นับว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ยกตัวอย่างบางคนที่แสดงออกว่าเป็นคนดี มีน้ำใจ พูดจาไพเราะ แต่แท้ที่จริงแล้วอาจเป็นคนใจร้าย มีความอิจฉาริษยา หรือบางคนมองดูหน้าตาไม่ยิ้มแย้ม ดูเหมือนเป็นคนไม่มีมนุษยสัมพันธ์ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นคนมีน้ำใจ ยินดีที่จะช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนเสมอ เป็นต้น
ความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
การพัฒนาบุคลิกภาพภายในมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่อยู่ภายในใจ มักมีผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนั้น ถ้าบุคคลมีการพัฒนาบุคลิกภาพภายในมักจะส่งผลให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
1. การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล การพัฒนาบุคลิกภาพภายในช่วยให้เราสามารถจดจำและเข้าใจบุคคลแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนรู้วิธีที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนเหล่านั้นได้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
2. การตระหนักในเอกลักษณ์ของบุคคล และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคล เพราะบุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่ทำให้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน และเป็นต้นแบบบุคลิกภาพที่ดีให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเลียนแบบเอกลักษณ์ดังกล่าว เช่น บุคลิกภาพของความซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน    มีวินัย
3. การคาดหมายพฤติกรรม บุคลิกภาพจะช่วยให้เรามีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ   ทำให้เราสามารถทำนายได้ว่า หากมีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เขาน่าจะมีการตอบสนองในลักษณะใด
4. มีความมั่นใจ กล่าวคือ ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความมั่นใจในการแสดงออกได้มากขึ้น กล้าที่จะแสดงออก และรู้แนวทางในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
5. การยอมรับของกลุ่ม คนที่มีบุคลิกภาพที่ดีจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป โอกาสในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นมีมากขึ้น ทำให้ได้รับความสะดวกในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ประสบความสำเร็จ

6. เกิดความสำเร็จในการทำงานและการดำเนินชีวิต คนที่มีบุคลิกภาพดีจะได้เปรียบคนอื่น ๆ เสมอ เพราะการมีบุคลิกภาพดีจะทำให้ได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาจากผู้พบเห็นและคนที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้นการทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ย่อมได้รับความร่วมมือจากคนส่วนใหญ่มากกว่าคนที่มีบุคลิกภาพไม่ดี และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ทฤษฎีการพัฒนาจิตลักษณะและบุคลิกภาพของบุคคล
นักจิตวิทยาหลายท่านได้มีการศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพภายในของบุคคล แต่ละทฤษฏีได้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบของทฤษฏีที่คล้ายกันว่าองค์ประกอบของทฤษฎีมักประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. โครงสร้าง (Structure) หมายถึง รูปแบบที่เกี่ยวกับปัจจัย หรือตัวแปรที่ปรากฏให้เห็นซึ่งเป็นสาเหตุของความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ
2. กระบวนการ (Process) หมายถึง วิธีการที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน

3. เนื้อหา (Content) หมายถึง เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดหรือสาระที่จะต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง ทั้งจากแนวความคิด ทัศนคติ วัฒนธรรม ภาษา และสิ่งที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
ภาพที่ 3.1 ซิกมันด์ ฟรอยด์
(ที่มา: http://waymagazine.org)

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตแพทย์ ชาวออสเตรีย เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี           จิตวิเคราะห์ โดยแบ่งออกเป็น 3 หลักใหญ่ คือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีโครงสร้างทางจิตหรือโครงสร้างบุคลิกภาพ พัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Freud มีรายละเอียด ดังนี้
1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) 
ผู้ตั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ คือ Freud มีความเชื่อเบื้องต้นว่า บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมของมนุษย์มาจากพลัง 4 ชนิด คือ
1.1 พลังสัญชาตญาณ (Instinctual Drive) พลังสัญชาตญาณหรือแรงขับสัญชาตญาณ เกิดจากการที่ร่างกายของมนุษย์ถูกกระตุ้นให้กระทำกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกาย เราจึงเรียกพลังสัญชาตญาณที่ทำหน้าที่ดังกล่าวว่าเป็นพลังสัญชาตญาณของความต้องการมีชีวิต (Life Instinct) 
1.2 พลังเพศ (Libido) เป็นพลังขับทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ (Species preservation) พลังขับทางเพศนี้ มิได้หมายถึงความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมอื่น ๆ ซึ่งบางครั้ง   ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศเลย เช่น การกลัวมีดบาด Freud อธิบายว่าเป็นความกลัว
อันเนื่องมาจากการถูกตัด (Castration) โดยเด็กเก็บกด (Repress) ว่าอวัยวะเพศของตนจะถูกตัด ความกลัวนี้จะสะท้อนออกมาในลักษณะการกลัวบาดเจ็บทางกาย เช่น กลัวมีดบาด กลัวถูกแทง เป็นต้น พลังเพศเป็นพลังที่ทำให้บุคคลมีความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ (Interpersonal Love) โดยเริ่มจากรักพ่อรักแม่ ต่อมาจึงรู้จักรักผู้อื่น และเป็นแรงจูงใจหรือเป็นพื้นฐานที่จะทำให้บุคคลเกิดความรักระหว่างเพศ
1.3 พลังคุ้มครองตนเอง (Ego-Instincts) เป็นสัญชาตญาณที่หลีกหนีความเจ็บปวด ความหิวกระหาย การป้องกันตนเองให้พ้นภัย ซึ่งสัญชาตญาณนี้เกิดขึ้นเพื่อที่จะคุ้มครองตน (Self-Preservation)
1.4 พลังความก้าวร้าว (Aggression) พลังความก้าวร้าวอาจถือเป็นส่วนหนึ่งของพลังเพศ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองตนก็ได้ Freud กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของพลังเพศก็คือ ความ         ไม่ลงรอยกันของสามีภรรยาจนต้องทะเลาะวิวาทถึงขนาดทำร้ายร่างกายกัน ก็ถือว่าเป็นการแสดงออกทางเพศอย่างหนึ่ง ส่วนที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคุ้มครองตน ก็คืออาจมีการต่อสู้ เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากภัยอันตราย พลังความก้าวร้าวนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่จะเกิดขึ้นเพียงระยะหนึ่งเท่านั้น Freud ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ความก้าวร้าวเป็นส่วนหนึ่งที่แยกมาจากสัญชาตญาณของความตาย (Death Instinct) ซึ่งเป็นรากฐานของความต้องการทำลาย (Destructive Activities) ซึ่งแสดงออกได้ 2 ลักษณะ คือทำลายผู้อื่นและทำลายตนเอง เพื่อจะให้เข้าใจถึงแนวความคิดของทฤษฎีจิตวิเคราะห์นี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจทฤษฎีย่อย ๆ ที่อยู่ในทฤษฎีของ Freud ซึ่ง Freud ได้รวบรวมไว้ ได้แก่ ทฤษฎีแผนภาพจิตใจ (Topographical Theory) โดย Freud กล่าวว่า บุคคลมีระดับความคิดและความรู้สึกอยู่ 3 ระดับ โดยเปรียบเทียบจิตใจหรือระดับความรู้สึกของบุคคล ว่าเหมือนกับภาพน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ จะพบว่ามีบางส่วนโผล่พ้นน้ำ บางส่วนอยู่เสมอน้ำ และบางส่วนอยู่ใต้น้ำ ดังนี้
1.4.1 ระดับที่โผล่ใต้น้ำ คือ ระดับ Conscious หรือ ระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่คนสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นส่วนที่รู้ตัว มีการใช้สติปัญญา ความรู้และประสบการณ์ในการพิจารณาหรือทำในสิ่งที่ถูกที่ควรหรือที่สังคมยอมรับ
1.4.2 ระดับที่อยู่ปริ่มน้ำ คือ ระดับ Preconscious (Subconscious) หรือระดับใกล้สำนึก เป็นระดับที่ต้องใช้ความจำ และสมาธิในการ Recall ประสบการณ์ที่สะสมไว้ในลักษณะลางเลือน ซึ่งถ้าถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าที่เหมาะสมก็จะเข้ามาสู่ระดับจิตสำนึก คือ รู้ได้จำได้ ระดับ Preconscious จึงเป็นระดับที่อยู่ใกล้เคียงกับ Conscious มากกว่า

1.4.3 ระดับที่อยู่ใต้น้ำ คือ ระดับ Unconscious หรือระดับจิตไร้สำนึก เป็นระดับที่เก็บกด (Repress) สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายใจ ให้อยู่ในระดับไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้จะหลุดออกมาในรูปของความฝันหรือการพูดพลั้งปาก (Slipped Tongue) หรืออาจแฝงออกมาในรูปของความสามารถบางอย่าง เช่น บางคนสนใจในเรื่องเพศมาก แต่เก็บกดความสนใจนี้ไว้ในระดับ Unconscious ต่อมาไปเป็นจิตรกรที่วาดภาพนู้ดได้สวยงาม
2. ทฤษฎีโครงสร้างทางจิตหรือโครงสร้างบุคลิกภาพ 
Freud ได้อธิบายโครงสร้างทางจิตหรือโครงสร้างของบุคลิกภาพว่า ประกอบไปด้วยระบบที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่
2.1 Id (อิด) เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลา เป็นสัญชาตญาณหรือความต้องการ ได้แก่ ความอยาก ความหิวกระหายต่าง ๆ Freud เรียก Id ว่าเป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่จะสนองความต้องการที่เป็นความสุขส่วนตัวของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นเรื่อง Basic Need ต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันทุกวัน เนื่องมาจากการขาดเหตุผล และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองความอยากเท่านั้น เราเรียกขบวนการทำงานนี้ว่าเป็น Primary Process Thinking เป็นการตอบสนองความต้องการโดยใช้หลัก Pleasure Principle คือ กระบวนการทางจิตที่ดำเนินไปโดยไม่มีการกลั่นกรองหรือขัดเกลาให้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ
ภาพที่ 3.2 เด็กร้องไห้เนื่องจากสัญชาตญาณ ความหิว ความกระหาย
(ที่มา: http://www.kunshomenursery.com)
2.2 Ego (อีโก้) เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินโดยอาศัยเหตุผล และความเป็นจริงของสังคมและสิ่งแวดล้อม Ego เป็นตัวกลางที่จะตัดสินว่าจะดำเนินตาม Id ซึ่งเป็นสัญชาตญาณความอยาก ความหิวกระหาย หรือจะทำตามสิ่งที่เป็นคุณธรรม มโนธรรม (Superego) Ego จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยประนีประนอมไม่ให้อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากเกินไประหว่าง Id และ Ego คือ ไม่ผิดมากจนเกินไปหรือมีคุณธรรมสูงจนเกินไป โดยใช้หลักกฎความเป็นจริงในสังคม (Reality Principle)
ภาพที่ 3.3 การชี้แจง ให้เหตุผลจนเด็กเกิดการยอมรับ ไม่ควรใช้วิธีการดุหรือตำหนิ
(ที่มา: www.gotoknow.org)
2.3 Superego (ซุปเปอร์อีโก้) เป็นส่วนที่ควบคุมการดำเนินการของ Ego อีกชั้นหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Right or Wrong) ตามหลักศีลธรรม โดยยึดหลัก Morality Principle และการอบรมเลี้ยงดู Superego ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 
2.3.1 มโนธรรม (Conscience) คือ หิริโอตตัปปะ คือความละอายและความบาป เกิดจากการอบรมสั่งสอนให้รู้จักละอายและเกรงกลัวบาปตามหลักธรรมทางศาสนา หรือเป็นผลจากการอบรม   เลี้ยงดูว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้ามีการทำผิดจะถูกลงโทษ จะเป็นการ form การกลัวผิด กลัวบาป เมื่อโตขึ้นถ้าทำอะไรผิดจะเกิดความรู้สึกผิด คือ มี Guilty feeling ขึ้น 

2.3.2 อุดมคติแห่งตน (Ego Ideal) เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยความรู้สึกที่ดีงาม ซึ่งเกิดจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ และครูอาจารย์ เช่น การสอนว่า อะไรควรทำ ถ้าทำในสิ่งที่ดีจะได้รับรางวัล หรือได้รับคำชมเชย  หรือได้รับผลดีตอบสนอง ก็จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก คือ ความรู้สึก อิ่มใจ สุขใจ ภาคภูมิใจ ทำให้มองตัวเองว่าเป็นคนมีคุณค่า มีแนวคิดและอุดมคติของตนเอง 
ภาพที่ 3.4 นักศึกษาที่ได้รับรางวัล เยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์
ประจำปี 2557 โดยได้รับโล่ พร้อมเกียรติบัตร เข็มเกียรติคุณ และทุนการศึกษา
(ที่มา: http://www.koratforum.net)
Superego นี้มีส่วนทำให้สังคมเป็นสุข มนุษย์จะต้องมี Superego พอสมควร มิใช่ว่ามีมากเกินไป จนทำให้บุคคลไม่กล้าทำสิ่งใด เพราะผิดหรือบาป จะทำให้รู้สึกผิดมาก บาปมาก ชีวิตจะไม่ยืดหยุ่น    มักเกิดความเครียดบ่อย ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่ Weak Superego หรือ Strong Id พวกนี้จะไม่รู้สึกผิด ไม่รู้สึกเดือดร้อนหรือละอายต่อบาป มักจะทำความเดือดร้อนให้กับสังคมได้โดยที่ตัวเขาไม่รู้สึกเดือดร้อน
การแสดงออกทางพฤติกรรมของจิตทั้ง 3 ภาค เป็นดังนี้
           1. จิตสำนึกอยู่ภายนอกสุด ปรากฏให้เห็นง่าย โดยพยายามให้คนอื่นได้รู้สึกถึงส่วนดีของตน
           2. จิตใกล้สำนึก เก็บไว้ลึกเข้าไปอีกนิด พยายามซ่อนไม่ให้ใครรู้
3. จิตไร้สำนึก หรือจิตใต้สำนึก จะถูกเก็บไว้ส่วนในสุด พยายามไม่แสดงออกให้ใครเห็น    นอกจากว่าเกิดขาดสติ หรือควบคุมตนเองไม่อยู่
3. พัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Freud 
Freud กล่าวถึง ประสบการณ์ในวัยเด็ก โดยเน้นความสำคัญของความรู้สึกแต่ละวัย และการตอบสนองของร่างกายตามอวัยวะต่าง ๆ ที่เรียกว่า Erogenous Zones ซึ่ง Freud แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็นดังนี้
3.1  ระยะปาก (Oral Stage) อายุระหว่างแรกเกิด ถึง 1 ปี เป็นวัยที่ทารกยังช่วยตัวเองไม่ได้ ระยะนี้ทารกจะได้รับความสุขจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปาก เช่น การดูดนม ดูดหัวแม่มืด ดูดนิ้วมืด การกัดเล็บ การอมสิ่งต่าง ๆ หรือการได้รับการสัมผัสบริเวณปาก Freud เชื่อว่า การที่ทารกได้รับการตอบสนองทางปากด้วยการดูดนม นอกจากจะทำให้ทารกอิ่มแล้วยังเกิดความสุขด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าปากเป็นส่วนที่นำความสุขมาให้แก่ทารกมากที่สุด
ภาพที่ 3.5 การอุ้มหรือการกอดของมารดาทำให้เด็กได้รับความอบอุ่น
(ที่มา: http://www.dek-d.com)
ดังนั้น การให้นม การสัมผัสทางร่างกายของแม่เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรัก ความอบอุ่น ความหิว ความกระหายการได้กอดรัดสัมผัส เป็นการตอบสนองความต้องการ ของเด็ก จะทำให้เด็กเจริญเติบโตและพัฒนาบุคลิกภาพในทางที่ดี แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ขาด    ความรัก ความอบอุ่น ปล่อยให้หิวนาน ร้องไห้นาน จะทำให้มีผลต่อพัฒนาการบุคลิกภาพของเด็กและมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจต่อโลกและต่อบุคคลแวดล้อม การหย่านมก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กไม่พอใจ ดังนั้น    พ่อแม่จึงพยายามเข้าใจธรรมชาติของเด็กและทำด้วยความละมุนละม่อม ไม่รุนแรง การเลี้ยงดูของมารดาที่เคร่งครัดจนเกินไป หรือบกพร่องจะส่งผลให้เสียเวลาต่อมา เด็กอาจกลายเป็นเด็กดื้อ ร้องไห้ กินยาก นอนซึม เป็นต้น
ภาพที่ 3.6 ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
(ที่มา: http://www.sister2idea.com)

3.2  ระยะขับถ่าย (Anal Stage) อายุระหว่าง 1-2 ปี เป็นระยะที่ความสุขของเด็กจะอยู่ที่การขับถ่าย เด็กเรียนรู้เรื่องการขับถ่าย ผู้ใหญ่จึงควรฝึกหัดให้เด็กรู้จักการขับถ่าย ฝึกให้รู้จักรักษาความสะอาด และได้รู้จักถ่ายในที่อันควร ถ้าการขับถ่ายของเด็กเป็นไปด้วยความพอใจ โดยที่พ่อแม่ไม่เข้มงวดกวดขัน หรือเคร่งครัดกับระเบียบวินัยจนเกินไป การฝึกฝนเป็นไปด้วยความนุ่มนวลละมุนละม่อมไม่มีความรู้สึกขัดแย้งกัน ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับเด็กเป็นไปด้วยดีจะทำให้เด็กสบาย ผ่อนคลาย และไม่เกิดความตึงเครียด บางกรณีการที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการขับถ่าย จะทำให้เด็กเป็นคนไม่มีระเบียบและไม่ตรงต่อเวลา
3.3  ระยะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3-5 ปี ขั้นนี้ความสุขหรือความพอใจของเด็กจะอยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสภาพของร่างกายการเกิดของทารก การเล่นอวัยวะเพศ ในระยะแรก ความรู้ทางเพศมักจะเกี่ยวกับตัวเอง ต่อไปจะมุ่งไปที่    พ่อแม่ เพศตรงข้ามและอาจเกิดปมออดิปุส (Oedipus Complex) คือ เด็กจะเกิดความรู้สึกรักและผูกพันกับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตน เช่น เด็กหญิงจะรักพ่อเกลียดแม่ เด็กชายจะรักแม่เกลียดพ่อ     เด็กจะผ่านพ้นขั้นนี้ไปได้ด้วยการได้รับความรัก ความอบอุ่นจากบิดามารดา และเรียนรู้บทบาททางเพศของตนโดยการเลียนแบบพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน จากความรู้สึกทางเพศในลักษณะนั้นก็จะเปลี่ยนไป
3.4  ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage) อายุระหว่าง 6-13 ปี เป็นระยะที่เด็กเข้าโรงเรียน ความสนใจของเด็กจะหันไปสู่สังคมภายนอก ได้มีโอกาสพบปะเพื่อนฝูง ครู เด็กก็จะพยายามปรับตัวให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ๆ และการเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่น ๆ
3.5  ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) อยู่ในช่วงอายุ 13-18 ปี เป็นขั้นที่เด็กแสดงความสนใจ       เพศตรงข้ามมากขึ้น การเริ่มต้นที่แท้จริงของความรักระหว่างเพศจะเกิดขึ้นในขั้นนี้ Freud ได้เน้นถึงความสำคัญของร่างกายว่ามีผลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพและเชื่อว่าพัฒนาการจะเป็นไปตาม 5 ขั้นดังกล่าว พัฒนาการทางเพศจะผ่านไปด้วยดีหากเด็กได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โดยให้ได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างเพียงพอทุกขั้น หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอในขั้นหนึ่งขั้นใดเด็กจะเกิดการชะงัก (Fixation) ในการพัฒนาขั้นต่อไป และจะทำให้เกิดความลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น และแสดงพฤติกรรมถดถอยเข้าสู่วัยเด็ก กล่าวคือ เด็กจะหันไปใช้วิธีการเก่า ๆ ที่เคยใช้ในการพัฒนาในระยะขั้นปาก เนื่องจากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างเพียงพอ
ดังนั้น จากทฤษฎีบุคลิกภาพของ Freud เน้นประสบการณ์ในวัยต้นของชีวิต หรือโดยเฉพาะ    ในวัยทารกและวัยเด็กตอนต้น นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พื้นฐานทางบุคลิกภาพจะถูกกำหนดในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต ถ้าบุคคลสามารถผ่านพัฒนาการ ทุกขั้นตอนอย่างราบรื่น เช่น มีความสุขความพอใจที่ได้ดูดนม ได้สัมผัสอันอ่อนโยนจากแม่ เด็กมีความพอใจไม่รู้สึกเครียดในการฝึกการขับถ่าย แม่มีความเข้าใจธรรมชาติและ ความต้องการของลูก ไม่มีการลงโทษรุนแรง และเคร่งครัดเกินไป การพัฒนาบุคลิกภาพก็เป็นไปโดยปกติ และมีบุคลิกภาพสมบูรณ์
ภาพที่ 3.7 ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
 (ที่มา: www.l3nr.org)

องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
องค์ประกอบของการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาด้านสติปัญญา (Intelligent Quotient : IQ) หมายถึง ความฉลาดที่วัดด้วย แบบทดสอบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเชาว์ ไหวพริบ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ IQ เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้เทียบกับอายุคน ส่วนใหญ่มี IQ ช่วง 90-110 ส่วนคนที่มี IQ เกิน 120 ถือว่าเป็นคนที่มี IQ ในระดับสูง
นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อฮาร์วาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Guardner) กล่าวว่า คนเราทุกคนมีความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนจะมีความฉลาด 8 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือความสามารถด้านภาษา การพูดจา    โน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปี และคิดประดิษฐ์คำ
1.2 ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical-Mathematical Intelligence) คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์คิดเป็นระบบ
1.3 ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ความสามารถในการสร้าง จินตนาการสร้างภาพต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น สถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมิ ความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์
1.4 ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily-kinesthetic Intelligence) คือความสามารถในการใช้สรีระร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถในด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง
1.5 ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือความสามารถในด้านดนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มีความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี
1.ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสารการจัดการและความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.7 ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
1.8 ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ
ภาพที่ 3.8 การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพด้านสติปัญญาที่สำคัญ
 (ที่มา: http://songkhlatoday.com)

แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพด้านสติปัญญา คือ ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกระตือรือร้น รอบรู้ ความจำ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้การพัฒนาด้าน IQ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ   
- สุ คือ สุตมยปัญญา ปัญญาจากการฟัง ตีความว่า การฟัง คือ การรับสาร หรือ สาระ ทั้งปวงจากสื่อต่าง ๆ มิใช่แต่เฉพาะการฟังทางหูอย่างเดียว 
- จิ คือ จินตมยปัญญา ปัญญาจากการคิด คือ รู้จักไตร่ตรอง หัดใช้เหตุผลวิเคราะห์ ช่วยให้เกิดจินตนาการ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 
- ปุ คือ ปุจฉา แปลว่า ถาม จาก สุ และ จิ ต้องมีความปรารถนาหาคำตอบเพิ่มเติมด้วยวิธีการ    ต่าง ๆ ให้มีปัญญางอกเงยยิ่ง ๆ ขึ้น 
   - ลิ คือ ลิขิต จดบันทึก ต่อมาคำว่า "จด" ก็ขยายเป็น การพิมพ์ การทำฐานข้อมูล ที่สามารถนำไปรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ ให้เป็นผลงานที่มีประโยชน์ 
            2. การพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ สามารถควบคุมตนเองไม่ให้หวั่นไหวไป ตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ให้ก้าวร้าว อวดดี ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุข
            แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพด้านความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความรู้จักกาลเทศะ การควบคุมอารมณ์ การมีมนุษยสัมพันธ์ และการมีสมาธิ หลักธรรมที่จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนา EQ ได้เป็นอย่างดี คือ พรหมวิหาร 4 ได้แก่
         1. เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา 
                           2. กรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ทุกข์โดยสภาวะเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่ ความตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า  กายิกทุกข์ และทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้ว ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เรียกว่า เจตสิกทุกข์ 
                       3. มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา
          4. อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น 
ภาพที่ 3.9 การนั่งสมาธิถือเป็นการพัฒนาความฉลาดทางด้านอารมณ์ที่ได้ผลดี
(ที่มา: http://www.vstarproject.com)
3. การพัฒนาด้านความฉลาดในการเผชิญหน้า (Adversity Quotient : AQ) หมายถึง ความสามารถในการอดทนทั้งความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางใจ และจิตวิญญาณที่สามารถเผชิญและเอาชนะให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหาอุปสรรคในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กน้อย ปัญหาปานกลาง หรือปัญหาใหญ่ ก็สามารถจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้
แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพด้านความฉลาดในการเผชิญหน้า คือ ต้องควบคุมอารมณ์ตนเองให้สงบให้นิ่งก่อน มีทัศนคติในแง่บวกต่อปัญหาเสมอ โดยให้คิดว่าปัญหานั้นคือโอกาสที่จะทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ถ้าหากผู้แก้ปัญหามีความอดทน ใส่ใจ และจริงใจ ที่สำคัญต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบาก ไม่หวาดกลัวบุคคลอื่น รู้จักช่วยเหลือตนเอง หลักธรรมที่จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนา AQ ได้เป็นอย่างดี คือ
- พละ 5 ได้แก่
1. ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น ความมั่นใจ
2. วิริยะ คือ ความพากเพียร ความพยายาม
3. สติ คือ ความตรึกตรอง ความรอบคอบ
4. สมาธิ คือ ความใส่ใจ ความแน่วแน่
5. ปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจ ปรับปรุงแก้ไข 
- อิทธิบาท 4 ได้แก่
1. ฉันทะ คือ ความรักความพอใจในงาน 
2. วิริยะ คือ ความอดทนต่อความยากลำบาก 
3. จิตตะ คือ ความตั้งใจจดจ่อต่องาน 

4. วิมังสา คือ การแก้ไขปรับปรุงหาข้อบกพร่อง 
            4. การพัฒนาความฉลาดด้านจริยธรรมและศีลธรรม (Moral Quotient : MQ) หมายถึง ระดับจริยธรรมศีลธรรมของบุคคล ซึ่งตนเองสามารถควบคุมได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความมีระเบียบวินัย ความสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น
            MQ ไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว เหมือนดังคำโบราณของไทยที่ว่า “สันดอนนั้นขุดได้ แต่สันดานนั้นขุดยาก” การที่บุคคลคนหนึ่งจะมี MQ ระดับดี ต้องเริ่มปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล โดยอาศัยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับเด็ก การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผู้ใหญ่ให้กับเด็ก ความรักและวินัย MQ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าบุคคลได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่ยังเป็นเด็ก บุคคลก็สามารถพัฒนาพื้นฐาน MQ ของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง และ MQ นี้ก็จะฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึก ของบุคคลผู้นั้น และจะรอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่น ๆแต่ถ้าบุคคลไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้น อย่างไรก็ไม่สามารถ ทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก
ภาพที่ 3.10 การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
 (ที่มา: http://www.thaischool.in.th)
แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพความฉลาดด้านศีลธรรมและจริยธรรม ต้องปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล เพื่อให้ติดเป็นนิสัยและเป็นธรรมชาติ หลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้การพัฒนาด้านนี้ ให้
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ
            - ฆราวาสธรรม 4 ได้แก่
            1. สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน เป็นหลักสำคัญที่จะให้เกิดความไว้วางใจและไมตรีที่มีต่อกัน
2. ทมะ คือ การรู้จักบังคับควบคุมอารมณ์ ข่มใจระงับความรู้สึกต่อเหตุบกพร่องของกันและกัน แก้ไขข้อบกพร่อง ให้กลมกลืนประสานเข้าหากันได้ ไม่เป็นคนดื้อด้านเอาแต่ใจและอารมณ์ของตน 
3. ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลาย ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกัน เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความตกต่ำคับขัน ไม่ตีโพยตีพาย แต่มีสติอดกลั้นคิดอุบายใช้ปัญญาหาทางแก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี 
4. จาคะ คือ ความเสียสละ ความเผื่อแผ่ แบ่งปันตลอดถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน มิใช่คอยแต่จะเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียว ตลอดจนการเสียสละความพอใจและความสุขส่วนตน
- สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่
1. ธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ได้แก่ รู้ชัดถึงเหตุแห่งความทุกข์เดือดร้อนและบ่อเกิดแห่งความผาสุก เป็นการหาสาเหตุว่าการแสดงออกหรือการรู้สึกนั้นเกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ไขหรือควบคุมต้นเหตุไม่ให้เป็นสาเหตุของการประพฤติในสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ เช่น ความโกรธ ความเกลียด เป็นต้น
2. อัตถัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักผล ได้แก่ รู้ซึ้งถึงความเจริญสุขเป็นผลของบุญ และทุกข์โทษ รู้ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำว่าจะทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ดีต่อตัวเราหรือไม่ หมั่นวิเคราะห์ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากเหตุใด หากไม่ต้องการให้ผลออกมาไม่ดี นั่นหมายถึงว่าจะต้องพยายามหาเหตุดี ๆ มาปฏิบัติเพื่อจะก่อให้เกิดผลดี ๆ ตามมา
3. อัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักตน ได้แก่ สำเหนียกความรู้ความสามารถ วางตนสมอัตภาพอย่างเจียมใจ เป็นการรู้ถึงจุดดีและจุดด้อยของตนเอง ว่ามีความรู้ความสามารถเพียงใด สิ่งใดเราทำได้หรือทำไม่ได้ หากรู้ว่าสิ่งใดทำไม่ได้ ทำไม่ทัน ทำได้ไม่ดี แล้วยังฝืนทำย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีเลย
4. มัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณการ ได้แก่ รู้จักใช้งบประมาณพอดีสมควรแก่ฐานะ การกระทำสิ่งใดก็ตามต้องไม่มากเกินไปหรือน้อยจนเกินไป เช่น พูดมากเกินไปจะทำให้ผู้อื่นเบื่อ และรำคาญ หากพูดน้อยเกิดไปก็จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกอึดอัด เป็นต้น
5. กาลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา ได้แก่ จัดสรรกิจการให้ถูกจังหวะ การรู้จักถึงเวลาที่ควรปฏิบัติ เช่น การโทรศัพท์หาผู้อื่นก็ไม่ควรโทรตอนดึก จะไปเยี่ยมเยียนใครก็ต้องนัดวัน เวลา เพื่อเขาจะได้เตรียมตัวให้พร้อม
6. ปริสัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักชุมชน ได้แก่ เข้าใจปรับบุคลิกภาพของตนให้สอดคล้องกับสมาคมทุกระดับ การรู้ถึงกลุ่มคนและสังคมที่เราจะเข้าไปติดต่อด้วยว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร เช่น กลุ่มนักการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มศาสนาต่าง ๆ เพื่อเราจะได้รู้ว่าควรจะพูดจาหรือประพฤติปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบบุคคล ได้แก่ อ่านอัธยาศัยคนออก ถ่อมตนหรือยกย่องผู้อื่นสมแก่กรณี บุคคลที่เราจะคบหรือติดต่อด้วย ต้องรู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร มีตำแหน่งหน้าที่การงานใด เพื่อเราจะได้วางตนถูกว่าเราจะคบเขาด้วยความสนิทสนมมากน้อยเพียงใด เช่น หากเขาเป็นผู้มีจิตใจดีเราอาจคบถึงขั้นสนิทสนมด้วย หรือหากเขามีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงกว่าเรามาก เราก็ไม่ควรไปตีสนิทจนเกินไป
            5. การพัฒนาด้านทักษะทางสังคมและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น (Social Quotient : SQ) เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นเป็นสังคม สังคมใดจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วย จะต้องมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมสังคมด้วยกัน ไม่คิดว่าตนเองเหนือกว่าใคร ต้องมีใจเปิดกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จากสังคมเล็ก ๆ คือครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวก็รวมเป็นสังคมหมู่บ้าน หลายหมู่บ้านก็เป็นสังคมเมือง หลาย ๆ เมืองก็เป็นประเทศ หลายประเทศก็รวมกันเป็นสังคมโลก
หลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้การพัฒนาบุคลิกภาพด้านทักษะสังคมและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ
- ธรรมโลกบาล ได้แก่ 
1. หิริ คือ มีความละอายใจ ไม่กระทำชั่ว ไม่ทำความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น 
2. โอตตัปปะ คือ มีความเกรงกลัวต่อผลร้ายที่จะตามมาจากการกระทำชั่วและความเบียดเบียน- สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 
1. ทาน คือ การแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือด้วยปัจจัยสี่ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจ 
2. ปิยวาจา คือ พูดจาต่อกันด้วยคำสุภาพ คำไพเราะ ประกอบด้วยประโยชน์ ทำให้เกิดรักใคร่นับถือ สามัคคีกัน 
3. อัตถจริยา คือ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือในกิจการงาน รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหา
4. สมานัตตตา คือ ทำตัวให้เข้ากับเขาได้ วางตนให้มีความเสมอภาค ไม่เอาเปรียบ มีทุกข์ร่วมต้าน มีสุขแบ่งปัน
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน คือการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ สติปัญญา อารมณ์  จริยธรรม ศีลธรรม การกล้าเผชิญกับปัญหาอุปสรรค รวมถึงการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นดังนั้น ถ้าบุคคลสามารถพัฒนาได้ทั้ง 5 ด้านควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกแล้ว จะทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น
ธรรมะกับการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี จำเป็นต้องอาศัยหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้แนะและพัฒนา บุคคลจะมีบุคลิกภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วย กาย วาจา และใจที่ดี หลักธรรมในพุทธศาสนาล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาปฏิบัติให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี
พระธรรมปิฎก กล่าวว่าหลักการพัฒนาชีวิตในพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้เป็นหลักการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นมีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. กายภาวนา เป็นการพัฒนาให้ร่างกายเจริญแข็งแรงดี มีสุขภาพดี และมีการพัฒนาทักษะโดยการฝึกฝนการใช้ร่างกาย เช่น การใช้มือและอวัยวะให้มีความคล่องแคล่วและชำนาญการรวมทั้งพัฒนาร่างกายทาง หู ตา จมูก และลิ้น ที่ใช้เป็นสิ่งสัมผัสระหว่างตัวเรากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ คือ ปัจจัย 4 และธรรมชาติแวดล้อมทั่วไป การพัฒนากายจึงควรฝึกฝนใน 2 ด้าน ดังนี้
1.1 ฝึกฝนด้านการใช้งาน เป็นการฝึกทักษะโดยการทำให้ หู ตา จมูก ลิ้น มีความเฉียบคม ละเอียดอ่อน ว่องไว แคล่วคล่อง และมีความจัดเจนในการทำงาน
1.2 สร้างประสบการณ์ที่ดี คือ การฝึกให้ หู ตา จมูก ลิ้น รู้จักเลือกรับเอาสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์เข้ามาให้แก่ชีวิต และป้องกันไม่ให้รับเอาสิ่งที่ไม่ดีและเป็นโทษเข้ามา เช่น การฟังคำเตือนจากผู้บริหารก็ไม่ควรรับเอาอารมณ์เข้ามาให้เกิดเป็นความโกรธ ควรรับเข้ามาในทางที่ทำให้เกิดปัญญา เช่น การใช้ลิ้นเป็น ถ้ารับประทานอาหารเป็นก็จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตและได้คุณค่าทางอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่เป็นคือมุ่งแต่อร่อยก็ทำให้เสียคุณภาพชีวิตได้ เช่น อาจทำให้เกิดท้องเสีย หรือเกิดการเสื่อมเสียสุขภาพ เป็นต้น ในปัจจุบันวัตถุเป็นตัวเด่นที่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้ารับเข้ามาอย่างเป็นโทษ    ไม่รู้จักรับเข้ามาในทางที่จะทำให้เกิดปัญญาก็จะไม่เกิดคุณภาพชีวิต
 2. ศีลภาวนา คือ การทำให้ตนเองมีระเบียบในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างเป็นสุข โดยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น และฝึกควบคุมตนในทางกาย วาจา ใจ ให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดของสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจต่อไป
            3. จิตภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจให้เจริญงอกงามทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
3.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาจิตให้มีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่มีคุณธรรมที่ทำให้จิตใจประณีตงดงาม เช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธา มีความกตัญญูกตเวที เป็นต้น
3.2 การพัฒนาสมรรถภาพจิต เป็นการพัฒนาให้จิตใจเข้มแข็งเพื่อให้นำไปใช้งานได้ดี สำหรับการทำงานได้เก่งทำงานได้ผลดีนั้นจิตต้องมีสมาธิ มีสติ เพียรพยายาม เอาใจใส่ อดทน กล้าสู้ รับผิดชอบ และมีจิตใจเข้มแข็ง เป็นต้น
            4. ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาปัญญาให้เจริญงอกงาม เช่น การรู้จักวินิจฉัย แยกแยะสิ่งที่รับรู้ด้วยเหตุด้วยผล แล้วสามารถนำไปดำเนินการและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จผลตามที่ต้องการได้ การเกิดปัญญาคือการรับรู้ตามความเป็นจริงแล้ววินิจฉัยโดยปราศจากความชอบและไม่ชอบนั่นเอง ถ้าไม่ได้ฝึกอบรมปัญญาไว้ ปัญญาก็จะไม่เป็นอิสระ จะไม่บริสุทธิ์ และจะเป็นปัญญาที่ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของอคติ เช่น ลำเอียงเพราะชอบใจ ชัง หลง กลัว โลภ โกรธ หรือลำเอียงเพราะหลง ถ้าฝึกปัญญาจนเป็นผู้มีปัญญาเท่าทันโลกและชีวิตจะทำให้จิตใจเป็นอิสระและมีความสุขที่นับว่าเป็นจุดสูงสุดของชีวิต

            การปฏิบัติธรรมทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนที่สมบูรณ์ มีศีล มีสมาธิ และมีปัญญา สุขุม เยือกเย็น สร้างบุคลิกภาพภายในให้มีผลต่อบุคลิกภาพภายนอก คุณธรรมและหลักธรรมทางศาสนาที่ใช้เพื่อพัฒนาจิตใจ หรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในมีอยู่หลายประการ เช่น
เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน ผู้ที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 
1. เบญจศีล หมายถึง ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา เบญจศีล เป็นเครื่องรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย ละวาจาให้เป็นปกติ คือไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ
- ปาณาติบาต คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ และการเบียดเบียนสัตว์ 
อทินนาทาน คือ ละเว้นจากการลักขโมย ปล้นจี้
กาเมสุมิจฉาจาร คือ ละเว้นจากการประพฤติผิด ล่วงละเมิดลูกเมียผู้อื่น
มุสาวาท คือ ละเว้นจากการพูดปด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด
             - สุราเมระยะ คือ ละเว้นจากการเสพสุรา เพราะเป็นสาเหตุให้ทำผิดศีลข้ออื่น
2. เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่ 
เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ ด้วยรู้ดีว่าทุกชีวิตย่อมมี ความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับเรา ทำให้ไม่ผิดศีลในข้อที่ 1 
สัมมาอาชีพ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 2
ความสำรวมอินทรีย์ คือ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 3
ความซื่อสัตย์ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท ทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 4
สติ คือ การรู้สึกตัว ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราเมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ การมีสติจึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 5
ภาพที่ 3.11 การเข้าวัดไหว้พระ ทำบุญ ฟังเทศน์ ปล่อยปลา จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.11 การเข้าวัดไหว้พระ ทำบุญ ฟังเทศน์ ปล่อยปลา จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้เป็นอย่างดี
 (ที่มา: http://www.khaoyaizone.com)

สรุปสาระสำคัญ


 
บุคคลที่มีบุคลิกภาพดีนั้นไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองแค่ภายนอกด้วยการแต่งกายหรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น หากจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อน จึงจะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้
            การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ การจะทำให้เป็นผู้ที่มีจิตใจดีต้องอาศัยการอบรมบ่มนิสัย การสร้างประสบการณ์มาตั้งแต่เกิด บุคลิกภาพภายในเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา บุคคลควรได้รับการพัฒนาเพื่อการทำงานร่วมกันในสังคม สิ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาจิตใจที่ได้ผลดีคือ การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา การนำเบญจศีลและเบญจธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต จะทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสัมพันธภาพที่ดี ทำให้การทำงานไม่เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ความโลภ ความโกรธ ความเห็นแก่ตัว
คำศัพท์ (Vocabulary)
คำศัพท์
คำแปล
คำศัพท์
คำแปล
Internal Personality
บุคลิกภาพภายใน
Fixation
การชะงัก
Structure
โครงสร้าง
Intelligent Quotient
การพัฒนาด้านสติปัญญา
Process
กระบวนการ
Linguistic intelligence 
ความฉลาดด้านภาษา
Content
เนื้อหา
Logical-Mathematical Intelligence
ความฉลาดด้านการคำนวณ
Psychoanalytic Theory
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 
Spatial Intelligence
ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์
Instinctual Drive
พลังสัญชาตญาณ
Bodily-kinesthetic Intelligence
ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย
Libido
พลังเพศ
Musical Intelligence 
ความฉลาดด้านดนตรี
Ego-Instincts
พลังคุ้มครองตนเอง
Interpersonal Intelligence
ความฉลาดด้านทักษะสังคม
Aggression
พลังความก้าวร้าว
Intrapersonal Intelligence
ความฉลาดด้านบุคคล
Oral Stage
ระยะปาก
Naturalist Intelligence
ความฉลาดด้านธรรมชาติ
Anal Stage
ระยะขับถ่าย
Emotional Quotient
การพัฒนาความฉลาด
ทางอารมณ์
Phallic Stage
ระยะเพศ
Adversity
การพัฒนาความฉลาด
ในการเผชิญหน้า
Latency Stage
ขั้นก่อนวัยรุ่น
Moral Quotient
การพัฒนาความฉลาด
ด้านจริยธรรมและศีลธรรม
Genital Stage
ขั้นวัยรุ่น
Social Quotient
การพัฒนาด้านทักษะ
ทางสังคมและการใช้ชีวิต




ใบงาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
ใบงานที่             3.1
เรื่องที่ศึกษา       การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
วัตถุประสงค์      อธิบายหลักธรรมที่ช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้
คำชี้แจง            1. ให้นักเรียนเขียนบุคลิกภาพภายในที่ดีและไม่ดีของตนเองอย่างละ 5 ข้อ
    ลงในกระดาษ เอ 4
2. นำคำสอนตามหลักธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียนมาแก้ไขบุคลิกภาพที่ไม่ดี  
    โดยอธิบายว่านำหลักธรรมมาใช้อย่างไร
3. นำผลงานส่งครูเพื่อประเมินผลงาน
บุคลิกภาพภายในที่ดี
บุคลิกภาพภายในที่ไม่ดี
1.
1.
2.
2.
3.
3.
4.
4.
5.
5.
วิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพที่ไม่ดี
บุคลิกภาพภายในที่ไม่ดี
หลักธรรมที่นำมาใช้ในการแก้ไข
1.
1. (บอกชื่อหลักธรรม และอธิบายว่านำมาใช้อย่างไร)
2.
2.
3.
3.
4.
4.
5.
5.
ใบงาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
ใบงานที่             3.2
เรื่องที่ศึกษา        การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
วัตถุประสงค์      อธิบายหลักธรรมที่ช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพภายในได้
คำชี้แจง            1. ให้นักเรียนหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น 1 ข่าว ติดลงในกระดาษ เอ 4
2. เขียนรายละเอียดที่มาของข่าววันเดือนปี และเหตุผลในการเลือก
3. สรุปข่าว และหาสาเหตุของข่าวที่เกิดขึ้น
4. นำคำสอนตามหลักธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียนมาแก้ไขปัญหา โดยอธิบายว่า
    หากวัยรุ่นในข่าวนำหลักธรรมมาใช้จะเกิดผลอย่างไร
5. นำผลงานเสนอหน้าชั้นเรียน
6. ครูและเพื่อน ๆ ร่วมกันประเมินผลงาน
7. นำผลงานส่งครู
รายละเอียด
ที่มาของข่าว                   ………………………………………………………………………….
วันเดือนปี                      ………………………………………………………………………….
เหตุผลในการเลือก          ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
สรุปข่าว             ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
หลักธรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาพร้อมเหตุผล                                                            
                                    ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
                                    ………………………………………………………………………….
แบบประเมินผล (สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง)
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องคะแนนให้ตรงกับความเป็นจริง

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

รายการประเมิน
พฤติกรรมการแสดงออก
คะแนน
3
2
1
1. การคิด
1.1 ใช้วิธีการสื่อสารในการนำเสนอข้อมูลได้เหมาะสม



1.2 เลือกข้อมูลความรู้ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง



1.3 สรุปความคิดรวบยอดและสาระสำคัญของเรื่องที่เรียนได้



2. การแก้ปัญหา
2.1 ตั้งคำถามเรื่องที่จะศึกษาได้อย่างเป็นระบบ



2.2 รวบรวมข้อมูลความรู้ ได้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ



2.3 นำข้อมูลความรู้ที่ได้รับไปใช้แก้ปัญหาได้



3. การสื่อสาร
3.1 ใช้วิธีการสื่อสารนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม



3.2 เลือกรับข้อมูลความรู้ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง



4. การใช้เทคโนโลยี
4.1 ค้นคว้าข้อมูลความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง



4.2 เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรม



คะแนนรวม (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)



ผลรวมคะแนน หาร 6 = คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน



2. ด้านทักษะ กระบวนการ

รายการประเมิน
พฤติกรรมการแสดงออก
คะแนน
3
2
1
1. การคิด
1.1 ใช้วิธีการสื่อสารในการนำเสนอข้อมูลได้เหมาะสม



1.2 เลือกข้อมูลความรู้ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง



1.3 สรุปความคิดรวบยอดและสาระสำคัญของเรื่องที่เรียนได้



2. การแก้ปัญหา
2.1 ตั้งคำถามเรื่องที่จะศึกษาได้อย่างเป็นระบบ



2.2 รวบรวมข้อมูลความรู้ ได้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ



2.3 นำข้อมูลความรู้ที่ได้รับไปใช้แก้ปัญหาได้



3. การสื่อสาร
3.1 ใช้วิธีการสื่อสารนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม



3.2 เลือกรับข้อมูลความรู้ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง



4. การใช้เทคโนโลยี
4.1 ค้นคว้าข้อมูลความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง



4.2 เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรม



คะแนนรวม (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)



ผลรวมคะแนน หาร 6 = คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน




ไม่มีความคิดเห็น: